0

SDGs News

2021-06-07 11:27:10 ใน News&Events » 0 1756

กลยุทธ์สร้างความแตกต่างสำหรับผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในยุคที่เราลงทุนกับ SDG/ESG


การสร้างคุณค่าร่วมหรือ CSV สามารถช่วยปรับปรุงคุณค่าขององค์กร เร็วๆ นี้ ผู้ผลิตรายใหญ่ๆ หรือแม้แต่ในญี่ปุ่นเอง หันมาใช้ผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเราคงรู้ๆ อยู่แล้วว่าผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมนั้นราคาแพงกว่า

ดังนั้น บริษัทควรวางกลยุทธ์อย่างไรเกี่ยวกับประเด็นเรื่องราคาของผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

หลังจากสัมภาษณ์ผู้ผลิตหลายราย เราก็ได้ข้อสรุปที่น่าสนใจ และคำตอบก็คือ SDG
ผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมไม่ใช่ของใหม่ โดยค่อยๆ เป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ในตลาด แบรนด์ผู้ผลิตหลายรายเล็งเห็นว่าการบูมของผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ในระยะหลังกำลังเป็นเทรนด์ แล้วอะไรคือข้อแตกต่างระหว่างเทรนด์เมื่อก่อนกับเทรนด์ซึ่งกำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน

ผมคิดว่าการใช้โซเชียลมีเดียอย่างแพร่หลาย บวกกับความพยายามเพื่อบรรลุเป้าหมายของ SDG คือปัจจัยที่ทำให้เกิดเทรนด์ใหม่นี้ โซเชียลมีเดียย่อโลกของเราให้เล็กลง เราเกือบทุกคนสามารถรับรู้ข่าวคราวและเรื่องราวต่างๆ ซึ่งเกิดขึ้นทั่วโลกได้พร้อมกัน

ภาพหลอดเสียบจมูกของเต่าทะเลภาพนั้นก่อให้เกิดสงครามต่อต้านขยะในทะเล ความคิดเห็นของเกรตา ทุนแบร์กที่มีต่อภาวะโลกร้อนแพร่หลายไปทั่วโซเชียลมีเดีย คนหนุ่มสาวพากันส่งเสียงคัดค้านภาวะโลกร้อน เหตุการณ์ต่างๆ ซึ่งเกิดในประเทศห่างไกลกลายเป็นเรื่องใกล้ตัว เรื่องที่เมื่อก่อนเป็นประเด็นสาธารณะตอนนี้คนถือว่ามีความสำคัญไม่แพ้เรื่องส่วนตัว

แบรนด์ยักษ์ใหญ่ของตะวันตก อย่าง เนสต์เล, สตาร์บักส์, ยูนิลิเวอร์ พีแอนด์จี, และอีเกีย ต่างเข้าร่วมเทรนด์ซึ่งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยประกาศให้ทราบถึงความพยายามเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม อย่างเข้มแข็งและกว้างขวางขึ้น กล่าวได้ว่าตอนนี้เทรนด์ก็กำลังมาแรง

ปี 2015 องค์การสหประชาชาติซึ่งให้ความสำคัญต่อประเด็นสิ่งแวดล้อมและภาวะโลกร้อน ประกาศอย่างเป็นเอกฉันท์ว่าจะใช้นโยบาย SDG เรื่องนี้กลายเป็นพันธะสัญญาทั่วโลกเพื่อลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในความตกลงปารีส

ผู้ผลิตญี่ปุ่นรายใหญ่ๆ จำนวนมากขึ้นประกาศสนับสนุนเป้าหมายของ SDG กิจกรรมมากมายในระดับองค์กรให้ความสำคัญต่อประเด็นสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้การลงทุนเพิ่มขึ้น และ BlackRock บริษัทจัดการทรัพย์สินซึ่งใหญ่ที่สุดในสหรัฐ ระบุว่าการลงทุนในเรื่องแนวคิดดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน หรือ ESG ( Environmental, Social Governance) ก็เพิ่มขึ้น กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการหรือ GPIF ซึ่งเป็นสถาบันการลงทุนใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น ก็ลงทุนในด้าน ESG อย่างเต็มตัว เรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นปรากฏการณ์ระดับโลกแล้ว

นั่นคือภูมิหลังของสถานการณ์ หลายบริษัทกำลังหันไปหาผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งอาจมีผลให้ต้นทุนสูงขึ้น แต่การสร้างโลกใหม่ที่ดีกว่านั้นต้องลงทุน และเรื่องนี้ยังมีคุณค่า ช่วยปรับปรุงคุณค่าขององค์กรและเพิ่มสมรรถนะของการแข่งขันในตลาด

หากจะเลือกผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แล้วราคามีผลต่อประสิทธิภาพการแข่งขันของบริษัท เราควรจะใช้กลยุทธ์ใดแก้ปัญหานี้

ลองมาทำความเข้าใจกับ CSV หรือการสร้างมูลค่าร่วมกันก่อน คอนเซ็ปต์นี้นำเสนอโดยนักเศรษฐศาสตร์ชาวอเมริกันชื่อ ไมเคิล พอร์เตอร์ เมื่อปี 2011 ไอเดียก็คือความสามารถในการแข่งขันของบริษัทกับความเป็นอยู่ที่ดีของชุมชนโดยรอบนั้นพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน พอร์เตอร์เชื่อว่าจะเกิดธุรกิจใหม่ได้นั้น จำเป็นต้องลงทุนและทำงานกับการพัฒนาสังคมควบคู่กันไปด้วย

เป้าหมายของ SDG คือการแก้ปัญหาสังคม รวมทั้งก่อให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน ส่วนเป้าหมายของ CSV คือบอกว่าการแก้ปัญหาสังคมนั้นเกี่ยวเนื่องกันกับการสร้างผลกำไรอย่างแยกไม่ออก

ตอนนี้ถึงเวลาแล้วที่จะนำผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาใช้ในกระบวนการของ CSV ซึ่งอาจจะทำให้ต้นทุนสูงขึ้น แต่ขณะเดียวกันก็สร้างคุณค่าให้แก่องค์กร เราเชื่อว่าในที่สุดแล้วก็จะช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของบริษัท

อีกนัยหนึ่ง การเริ่มต้นในตลาดซึ่งกำลังมาคือเหตุผลที่เรายอมเลือกผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แม้ต้นทุนจะสูงกว่า

การประชุมโต๊ะกลมทางธุรกิจของเคดันเรนแห่งสหรัฐอเมริกา หรือ สหพันธ์ธุรกิจญี่ปุ่นแห่งสหรัฐอเมริกา เมื่อเดือนกันยายน ปี 2019 เพิ่มพนักงาน ลูกค้า ชุมชนท้องถิ่นและสิ่งแวดล้อม เข้าไว้ในรายการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย นับเป็นความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญใน 22 ปี

ในการประชุมประจำปีของสภาเศรษฐกิจโลก หรือการประชุมดาวอส)เมื่อเดือนมกราคม ปี 2020 เปลี่ยนคำจำกัดความของทุนนิยมว่า “ทุนนิยมแบบที่เรารู้จักนั้นตายแล้ว ความหมกหมุ่นกับการทำกำไรสูงสุดเพื่อผู้ถือหุ้นอย่างเดียว นำไปสู่ความเหลื่อมล้ำอย่างรุนแรง และผลักดาวเคราะห์ของเราเข้าสู่ภาวะฉุกเฉิน”

และนี่คือหนทางแก้ไข:
1) ยก “เหตุผล” ที่เราจำเป็นต้องจัดการกับปัญหาสังคม เช่น ภาวะโลกร้อน และขยะพลาสติกในทะเล โดยหว่านล้อมผู้มีอำนาจ แทนที่จะเป็นผู้บริโภคเท่านั้น ให้คนกลุ่มอื่นๆ ในสังคมมีส่วนร่วมมากขึ้น

2) มองผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมว่าคือวิถีของการแก้ไขปัญหาสังคม จึงจำเป็นต้องสร้างตลาดใหม่ และระเบียบใหม่ในสังคม บริษัทต่างๆ จะมีความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น

3) หาวิธีการใหม่ในการมีปฏิสัมพันธ์กับวงจรการจัดการ เพิ่มความสามารถในการแข่งขันของบริษัท

SDG นั้นเกิดขึ้นจากสมมติฐานที่ว่าโมเดลการจัดการของทุนนิยมแบบดั้งเดิมนั้นไม่มีความยั่งยืนอีกต่อไป การจัดการแบบ SDG มองว่าบริษัทยิ่งเติบโต ส่วนแบ่งตลาดจะยิ่งสูงขึ้น และโลกก็จะยั่งยืนมากขึ้น นั่นคือแนวทางของธุรกิจแบบใหม่

ท่ามกลางเงื่อนไขใหม่นี้ บริษัทใหม่ๆ ซึ่งมุ่งเน้นที่ความริเริ่มของ SDG ส่วนใหญ่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ญี่ปุ่น ถึงเวลาแล้วที่เราควรคิดใหม่ในเรื่องของมูลค่าของการทำธุรกิจ และการหันมาใส่ใจเรื่องผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมคือหนทางหนึ่งของการสนับสนุนเป้าหมายของ SDG

โดยเราจะลงรายละเอียดของผลิตภัณฑ์แต่ละชนิด เพื่อดูว่าผลิตภัณฑ์ใดจะช่วยให้คุณสามารถสนับสนุนเป้าหมายของ SDG ได้บ้าง

1. ผลิตภัณฑ์ย่อยสลายทางชีวภาพ
วัตถุดิบของผลิตภัณฑ์ย่อยสลายทางชีวภาพส่วนใหญ่คือ PLA, PBAT, PBS ฯลฯ อุณหภูมิและความชื้นมีผลต่อความสามารถในการย่อยสลาย ผลิตภัณฑ์จะย่อยสบายทางชีวภาพในสภาพแวดล้อมและเงื่อนไขที่เอต่อการย่อยสลายโดยจุลินทรีย์

คำว่า “ย่อยสลายทางชีวภาพ” คือหัวใจสำคัญเมื่อเราพูดถึงผลิตภัณฑ์ชนิดนี้ วัตถุดิบคือชีวมวลจากพืชซึ่งดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในช่วงที่เป็นต้นไม้ เมื่อผลิตภัณฑ์ใดๆ ก็ตามถูกเผามันก็จะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา เนื่องจากมันย่อยสลายเองโดยไม่ต้องเผา ผลิตภัณฑ์นี้จึงเป็นผลิตภัณฑ์ชดเชยคาร์บอน และการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มีความสำคัญสำหรับ SDG ซึ่งบริษัทจำนวนมากรับมาใช้ในกิจกรรมขององค์กร ตอบรับกับเป้าหมายที่ 13 นั่นคือ “รับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ”

ค้นหาวิธีช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ ในเว็บไซต์ของเรา...

2. บรรจุภัณฑ์กระดาษ (เคลือบ Bio PBS)
บรรจุภัณฑ์กระดาษที่เราดูแลเคลือบด้วย Bio-PBS ย่อยสลายทางชีวภาพ ซึ่งจะถูกย่อยโดยจุลินทรีย์ในดิน บริษัทที่ถามหาบรรจุภัณฑ์กระดาษที่ไม่เคลือบพลาสติก มีจำนวนเพิ่มขึ้น โดยใช้ชนิดเคลือบด้วย Bio-PBS แทน

เราเชื่อว่าผลิตภัณฑ์นี้จะช่วยเพิ่มมูลค่าและมีส่วนช่วยส่งเสริมมูลค่าให้แก่องค์กรของคุณ Bio-PBS ใช้วัตถุดิบซึ่งมาจากพืช และสอดคล้องกับเป้าหมายข้อที่ 13 ของ SDG เนื่องจากมีคุณสมบัติชดเชยคาร์บอน การใช้ผลิตภัณฑ์กระดาษเคลือบ bio-PBS แทนผลิตภัณฑ์ซึ่งทำจากปีโตรเลียมซึ่งเป็นทรัพยากรซึ่งมีจำกัด มีส่วนสนับสนุนเป้าหมายของสังคมยั่งยืน ซึ่งเป็นเป้าหมายของ SDG ด้วย

3. ผลิตภัณฑ์ Bio PE / Bio PET
พลาสติกชีวมวลใช้แหล่งอินทรีย์หมุนเวียนอย่างพืชเป็นวัตถุดิบ แม้ว่าผลิตภัณฑ์นี้จะไม่ย่อยสลายทางชีวภาพ การที่ใช้ชีวมวลเป็นวัตถุดิบทำให้ BIO PE/Bio PET เป็นผลิตภัณฑ์ ชดเชยคาร์บอน และมีส่วนสนับสนุนเป้าหมายที่ 13 ของ SDG “รับมือการเปลี่ยนแปลงสถาพภูมิอากาศ” นอกจากนั้น “กลยุทธ์รีไซเคิลทรัพยากรพลาสติก” หรือ Plastic Resource Recycling Strategy พัฒนาโดยรัฐบาลญี่ปุ่นเมื่อเดือนพฤษภาคม ปี 2019 ซึ่งต้องการเพิ่มปริมาณการใช้พลาสติกชีวมวลเป็น 2 ล้านตันภายในปี 2030

ประมาณว่าการนำเข้าพลาสติกชีวมวลในปี 2017 ยังน้อยกว่า 40,000 ตัน เป้าหมายดังกล่าวจึงดูว่าเป็นไปได้ยาก ทว่าหากมองในแง่ของวัตถุดิบแล้ว พลาสติกชีวมวลนั้นราคาถูกกว่าพลาสติกซึ่งย่อยสลายทางชีวภาพ คุณสมบัติในการขึ้นรูปรวมทั้งการใช้งานก็ไม่ได้ยิ่งหย่อนไปกว่าพลาสติกชนิดดั้งเดิม จึงเป็นที่สนใจของบริษัทซึ่งเพิ่งเข้าสู่วงการผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ช่วงนี้เงินดอลลาร์กำลังถูก คาดว่า ผลิตภัณฑ์ Bio PE / Bio PET จะเป็นทางเลือกที่น่าสนใจมาก

4. ผลิตภัณฑ์รีไซเคิล PET
ขวด PET ใช้แล้วสามารถนำมารีไซเคิล แล้วแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ อย่าง ช้อนส้อมมีด บรรจุภัณฑ์เครื่องสำอาง ฟิล์ม และสินค้าเบ็ดเตล็ด เป้าหมายข้อที่ 12 ของ SDG “แผนการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน” มีไว้เพื่อจัดการกับการผลิตมวลชนและการบริโภคมวลชน ผู้รู้กล่าวว่าพึงบริโภคอย่างรู้ขีดจำกัด

เทรนด์ “เศรษฐกิจหมุนเวียน” ส่วนหนึ่งเกิดมาจากการที่บริษัทชั้นนำของโลกซึ่งดำเนินการนำทรัพยากรมาใช้ใหม่และลดปริมาณขยะ โดยมีเป้าหมายเพื่อลดการนำทรัพยากรใหม่ออกมาใช้ให้น้อยที่สุด

นอกเหนือจากผลิตภัณฑ์รีไซเคิล PET แล้ว โทแพล็กซ์ยังดูแลบอยเลอร์ซึ่งใช้ขยะพลาสติกเป็นเชื้อเพลิง พนักงานซึ่งมากด้วยประสบการณ์และเครือข่ายของเทรดดิงซึ่งกว้างขวางพร้อมจะให้บริการแก่ลูกค้า ถ้าคุณกำลังมองหาอุปกรณ์และเครื่องจักรซึ่งมีส่วนสนับสนุนอุตสาหกรรมซึ่งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และสังคมรีไซเคิล

สรุป
จากประสบการณ์ในการทำงานกับลูกค้าเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเป็นเวลาหลายปี ทำให้เราได้ข้อสรุปว่า ผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมคือเทรนด์ที่เราและคู่แข่งของเราไม่อาจมองข้าม ขณะเดียวกันตัวเลือกของผลิตภัณฑ์ชนิดนี้ก็มีมากมายมหาศาล
 
เนื่องจากผลิตภัณฑ์ชนิดนี้มีราคาสูงกว่าปกติ ควรคิดให้รอบคอบก่อนตัดสินใจซื้อ เนื่องจากผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมนี้จะช่วยเพิ่มมูลค่าให้แก่องค์กร การให้ความรู้ในเรื่องนี้แก่ผู้บริโภคจึงเป็นเรื่องสำคัญ
 
ที่โทแพล็กซ์ เราไม่ได้แค่ขายผลิตภัณฑ์ แต่เรายังจัดทำกลยุทธ์การขายที่ตอบโจทย์ของลูกค้า ตั้งแต่ต้นจนจบ
 
การระบาดของโควิด-19 และผลกระทบทำให้เราตระหนักถึงความสำคัญของสังคมที่ยั่งยืน ในโลกยุคหลังโควิด SDG จะยิ่งทวีความสำคัญ สำหรับบริษัทนั้น แทนที่จะต้องเลือกระหว่างสิ่งแวดล้อมหรือเศรษฐกิจ ตอนนี้เรารู้แล้วว่าทางเลือกเดียวของเราตอนนี้คือต้องเลือกทั้งสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจ ถึงเวลาแล้วที่เราต้องถนอมรักษาและเปลี่ยนแปลงโลกใบนี้ ผลิตภัณฑ์ของเรามีส่วนช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือสังคมและเพื่อผลกำไรไปพร้อมๆ กัน
 
เราหวังว่าจะสามารถช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของคุณในตลาด และเพิ่มมูลค่าที่คุณจะมอบให้โลกใบนี้